วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

  -เกลือสินเธาว์ 

บ่อเกลือ ตั้งอยู่ในอำเภอบ่อเกลือ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดน่าน เดิมเรียกว่า "เมืองบ่อ" ซึ่งหมายถึง เมืองที่มีบ่อเกลือสินเธาว์ ที่มีอยู่ในพื้นที่ซึ่งเดิมมีอยู่ในจำนวน 7 บ่อ คือ บ่อหลวง บ่อหยวก บ่อเวร บ่อน่าน บ่อกิน บ่อแคะ และบ่อเจ้า 
   บ่อเกลือมีอยู่สองบ่อ คือ บ่อเกลือเหนือ และ บ่อเกลือใต้ โดยบ่อเกลือเหนือมีขนาดใหญ่ มีโรงต้มเกลืออยู่หลายโรง ส่วนบ่อเกลือใต้ มีโรงต้มเกลือน้อยกว่า ทั้งสองบ่อชาวบ้านยังใช้วิธีการต้มเกลือแบบโบราณในโรงเกลือที่ปิดมิดชิด ภายในมีเตาขนาดใหญ่ขึ้นรูปจากดินเหนียวสำหรับวางกะทะใบเขื่อง หรือกระทะแขวนตะกร้าไม้ไผ่สานใบเล็กๆ เพื่อใช้สำหรับบ่อเกลือ ชาวบ้านที่บ้านบ่อหลวง ทำการต้มเกลือสินเธาว์มาตั้งแต่โบราณหลายร้อยปีมาแล้ว จากหลักฐานทางธรณีวิทยาระบุว่า เมื่อหลายแสนปีก่อน บริเวณนี้เคยเป็นทะเล







ประวัติชาติพันธุ์บ่อเกลือ   จากคำบอกเล่าของผู้อาวุโสประจำหมู่บ้านที่จดจำจาก "ปั๊บปิน" เป็นเอกสารใบลานซึ่งเขียนเป็นอักษรธรรมล้านนาไว้และได้สูญหายไปจากวัดบ่อหลวงราว 40-70 ปี มาแล้ว แต่มีผู้จดจำเรื่องราวในเอกสารนั้นเป็นอย่างดีคือ อดีตกำนันนนท์ถี เขื่อนเมือง และเป็นผู้เดียวที่จดจำเรื่องราวเหล่านี้ได้
   บรรพบุรุษเล่าว่า...เป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากมองโกเลียออกมาทางแม่น้ำเหลืองทางหัวพันห้าทั้งหก เมื่อล่องแม่น้ำโขงมาถึงลาว จึงมาหยุดอยู่ที่เมืองหลวงน้ำทาแต่พวกลาวไม่ให้อยู่ จึงข้ามมาอยู่ที่เชียงแสนเจ้าหลวงภูคาจึงไปบอกให้มาหักล้างถางพงอยู่บริเวณนี้มีแม่น้ำลำธารดี ให้มาทำเกลือโดยที่เจ้าหลวงภูคาไปขอเจ้าหลวงน่าน เ้จ้าหลวงน่านไปขอพญาเม็งรายเพื่อขอคนเชียงแสนที่อพยพให้มาอยู่ที่นี่ ราว พ.ศ.2323-2327 ในสมัยล้านนาเป็นเมืองขึ้นพม่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น